Posts Tagged ‘entity framework’

 

การแสดงข้อมูลจาก Entity หรือตัวแทนจากตารางในฐานข้อมูลเดียวเป็นเรื่องปกติ

แต่หากต้องแสดงข้อมูลจาก entity อื่นที่มีความสัมพันธ์กันต้องเพิ่มอะไรลงไปนิดหน่อย

 

จากตอนที่แล้วผมสร้างแอพพลิเคชั่นจากฐานข้อมูลที่มีเดิมอยู่แล้ว

แล้วมาสร้าง entity datamodel แล้วค่อยมาสร้าง class ที่ทำงานทีหลัง

ไม่ใช่สร้างแบบ poco คือสร้างโค้ดก่อนแล้วไปเจนเนเรทฐานข้อมูล ผมคิดว่าอาจจะไม่เขียนเพราะ ตย ในเว็บอื่นๆมีมากพอแล้ว

 

วัตถุประสงค์

ต้องการแสดงรายชื่อนักเรียน

ต้องการคลิกที่ชื่อแล้วแสดงรายวิชา + เกรดที่ได้ของนักเรียน

 

นี่คือ edm ของระบบ

image

 

1. เพิ่ม Controller ลงไปชื่อ StudentController กำหนดค่า

image

ที่ช่องเทมเพลต กำหนดให้สร้าง crude

โมเดลให้เลือกชี้ไปที่คลาสที่สร้างขึ้นจากตอนที่แล้ว

และcontext เลือก schoolentity ก้ได้จากการสร้างตอนที่แล้วเช่นกัน

แล้ว add ลงไป

 

2.แก้โค้ดที่ StudentController เมทอส Details ดังนี้

image

จะเห็นว่าผมแก้โค้ดให้มี include เอา entity ที่ติดต่อโดยตรงเข้าไปก่อน

แล้วไปเรียก select เอา entity ที่ติดต่อถัดไปเข้ามา

 

3.เปิด view  detail ของ student

image

 

4. ภายใน tag ของ fieldset ให้เพิมตารางแสดงรายการวิชาและเกรดที่ได้เข้าไปด้วยการวนลูปดังนี้

image

 

เมื่อทดลองรันจะได้ดังนี้

 

image

เมื่อคลิกที่ detail ของ นร สักคน

image

จะได้รายวิชาที่ลงเรียนและเกรด(หากมี)

 

จบแล้วครับ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมทำตาม tutorial แล้วมีปัญหามาตลอด

หรือผมโง่เกินไปก็ไม่ทราบได้ หากใครฉลาดๆโปรดเข้ามาให้คำสอนด้วยครับ

 

การสร้าง Model จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เรียกว่า database first

1.เมื่อเราได้สร้างฐานข้อมูลแล้ว สร้างตารางและความสัมพันธ์เอาไว้ก่อนแล้ว

image

 

2.เพื่อความแน่ใจให้ดูใน web.config ว่ามี connection string ที่เชื่อมต่อระบบของเราเข้ากับ database ที่เราได้สร้างเอาไว้หรือยังหากยังให้กำหนดค่าดังนี้

image

 

3.ให้สร้าง Entity Data Model ขึ้นมา ที่โฟลเดอร์ Model ให้เพิ่ม Entity data model ลงไป

ตั้งชื่อ SchoolModel

4.เลือก Generate จาก Database

image

 

5.ที่ connection เลือกไปยัง database ที่เราได้สร้างเอาไว้

image

 

6.ด้านล่างให้บันทึก entity connection ลง web.config

image

 

เลือกตารางที่ใช้

image

 

และตั้งชื่อว่า SchoolModel

image

 

6. เลือก build project แล้วสร้าง class จาก edm ด้วยการคลิกขวาในหน้าการออกแบบ edm

image

 

7. เลือก code แล้วเลือก Self tracking

image

 

8. เราจะได้คลาสตามที่ edm ได้สร้างเอาไว้

image

 

จบแล้วครับ

 

บทความนี้สาธิตการพัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชั่น Contoso University ซึ่งผมได้ศึกษาจากเว็บไซท์ http://asp.net/

หากต้องการอ่านบทความต้นฉบับจะอยู่ที่

http://www.asp.net/entity-framework/tutorials/the-entity-framework-and-aspnet-–-getting-started-part-1

ผมได้ศึกษา และทดลองทำตามแล้วนำมาเล่าให้ท่านอ่านกันอีกครั้ง อรรถรสอาจมาก น้อยไปกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ในตอนที่ 2 เราจะสร้างเพจข้อมูลนักเรียน และจัดการข้อมูลนักเรียนก และเพจการแสดงรายวิชาของสาขาที่ระบุ

 

จุดประสงค์

สร้างเพจการจัดการข้อมูลนักเรียน และเพจการแสดงรายวิชา

image

 

ดำเนินการ

1.ให้เพิ่มเว็บฟอร์มใน Project ตั้งชื่อว่า Students.aspx และเลือกใช้ MasterPage แล้วคลิก Add

Image23

 

2. เลือก Master page  แล้วคลิกปุ่ม OK

Image24

 

3. เมื่อเพจ Student.aspx ได้ถูก Load ขึ้นมาให้ เพิ่ม Code ลงไปในหน้า html code ในบรรทัดที่ 8 – 9

image

 

4. หลังจากที่เราได้สร้าง EDM เอาไว้ในตอนที่ 1 เราจำเป็นต้อง Build Project ก่อนใช้งาน
ด้วยการคลิกขวาที่ชื่อ Project ใน Solution Explorer แล้วเลือก Build

image

 

5. คลิกที่ EntityDatasource เพื่อกำหนดค่า ด้วยการเลือก Configure Data Source

Image01

 

5. ระบุ Named Connection ชื่อ SchoolEntities และ ContainerName ดังตัวอย่าง แล้วคลิก Next

image

 

6. ที่ช่อง EntitySetname เลือก People และเลือกใช้ทุกฟิลด์ และให้ EDS สามารถแก้ไข และสามารถลบข้อมูลได้ แล้วคลิก Finish

image

 

7. เราต้องกำหนดค่าให้ database สามารถลบข้อมูลได้ เนื่องจาก ตาราง Person มี คสพ กับตารางอื่นๆ หากไม่กำหนดค่านี้จะเกิด Error เมื่อสั่งลบข้อมูล (!!! หมายเหตุ ให้เราสร้าง Database Diagram ที่ฐานข้อมูล School )

ให้คลิกที่หน้าต่าง Database Explorer  และคลิกสองครั้งที่ Diagram_0

image

 

8. VS 2010 จะเปิดหน้าต่างแสดง คสพ ของ  Database ขึ้นมา ให้คลิกขวาที่เส้น คสพ ของ Person และ StudentGrade

image

 

9. ที่หน้าต่าง Properties ทางด้านขวา ให้คลิกกำหนดค่า Delete เป็น Cascade

image

เสร็จแล้วให้บันทึก

 

10. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ระดับ Database เราต้องปรับปรุงข้อมูลที่ EDM ด้วย

ด้วยการคลิกขวาที่ Entity Data Model  แล้วเลือก Update Model from database

image

 

11.ที่หน้าการ refresh ให้คลิก Person แล้วคลิกปุ่ม Finish

image

 

12. เมื่อการปรับปรุง EDM เสร็จสิ้นแล้วให้สร้างเพจการแสดงรายชื่อผู้เรียน

ด้วยการลาก GridView วางในเพจ Students.aspx แล้วกำหนดค่าแหล่งข้อมูลให้เป็น EDS ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้า

 

Image06

ให้ Enable ตามตัวอย่างนี้

 

Image10

 

13.เลือก Field ที่ต้องการแสดงดังนี้

image

 

14.และเปลี่ยนทั้งสองฟิลด์ให้เป็น Template Field ด้วยการคลิกที่ Convert to template…. ทั้งสองฟิลด์

แล้วคลิกปุ่ม OK

 

15. ที่หน้าเพจ Source View ที่ Template FirstName ให้เปลี่ยน Code ดังนี้

image

อธิบาย ที่เทมเพลต Item ใช้เพื่อแสดงข้อมูล เราได้นำคอนโทรลลาเบลมาวางสองตัวและผูกกับข้อมูล LastName และ FirstName

ส่วนเทมเพลต Edititem ให้แสดงกล่องข้อความ FirstName , LastName เพื่อให้ป้อนข้อมูลใหม่ลงไป

 

16. การเพิ่มประสิทธิภาพของ EntityDatasource

ในเอกสารได้แนะนำให้เราลบ Attrubute Connection String และ DefaultContainerName แล้วเปลี่ยนไปใช้ ContextTypeName=”…” แทน มีข้อดีคือมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบเดิมเพราะเราชี้ไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการทำงานด้วย โดยตรง

 

image

 

17. แล้วทดลองรันเพจนี้ด้วยการกด F5 จะได้ผลดังนี้

image

 

หากลองคลิกลิ้ง Edit จะแสดงหน้าการแก้ไขดังนี้

image

 

18.ต้องการเพิ่มคอลัมน์การแสดงรายวิชาที่ผู้เรียนได้เรียน ให้คลิกที่ EntityDatasource แล้วไปเพิ่ม Entity ชื่อ StudentGrade ลงไปที่คุณสมบัต Include

Image19

และแก้ไขที่ gridview ก่อนแล้วเพิ่ม Template Field ต่อท้ายลงไปดังนี้

image

 

แล้วทดลองรันเพจดูจะแสดงจำนวนรายวิชาออกมาดังนี้

image

 

19.จากนั้นเราจะมาสร้าง ฟอร์มกรอกข้อมูลนักเรียนกัน โดยการใช้ Detailview 

ก่อนอื่นให้เพิ่ม WebForm เข้าไปใน Project ตั้งชื่อว่า StudentAdd.aspx แล้วลากคอนโทรล DetailView ไปวางในฟอร์ม และลาก Entity Data control เข้ามาด้วย

และกำหนดค่าดังนี้

<asp:Content ID="Content2" ContentPlaceHolderID="MainContent" runat="server">
    <h2>Add New Students</h2>
    <asp:EntityDataSource ID="StudentsEntityDataSource" runat="server"
        ContextTypeName="ContosoUniversity.DAL.SchoolEntities" EnableFlattening="False"
        EnableInsert="True" EntitySetName="People">
    </asp:EntityDataSource>
    <asp:DetailsView ID="StudentsDetailsView" runat="server"
        DataSourceID="StudentsEntityDataSource" AutoGenerateRows="False"
        DefaultMode="Insert">
        <Fields>
            <asp:BoundField DataField="FirstMidName" HeaderText="First Name"
                SortExpression="FirstMidName" />
            <asp:BoundField DataField="LastName" HeaderText="Last Name"
                SortExpression="LastName" />
            <asp:BoundField DataField="EnrollmentDate" HeaderText="Enrollment Date"
                SortExpression="EnrollmentDate" />
             <asp:CommandField ShowInsertButton="True" />
       </Fields>
    </asp:DetailsView>
</asp:Content>

 

จาก Tag ข้างต้น ที่ EDS เป็นการรุะบุแหล่งข้อมูลที่ใช้งาน นั้นคือ person และ tag Detailview ใช้เชื่อมต่อกับ EDS ที่ได้สร้างไว้แล้ว โดยระบุ attrib ว่าไม่ต้องสร้างแถวให้ เพราะเราจะสร้างเองในแท็ก Field  ภายใน tag field จะประกอบไปด้วย 3 แถวคือชื่อ สกุล วันที่ลงเรียน และแถวสุดท้ายเป็นปุ่มแทรกข้อมูล

เมื่อโค้ดแล้วให้ลองรันเพจดู แล้วทดสอบโค้ดดูนะครับ

image

 

20. ต่อไปเราจะสร้างเพจการแสดงงรายวิชาจากสาขาวิชา

ให้เราสร้างเพจขึ้นใหม่ชื่อว่า Courses.aspx แล้วลากคอนโทรล EntityDatasouce และ Dropdownlist ลงไป และระบุโค้ดลงใน source view ดังนี้

image

จะเห็นว่าที่ EDS ระบุุให้เชื่อมต่อไปยัง Departments

และที่ Dropdownlist ให้เรียกใช้ EDS และเรียกฟิลด Name ออกไปแสดง และให้ Value เป็นค่า ID ของ Department ทดลองรันเพจนี้จะได้ดังนี้

image

 

สำหรับบทที่ 2 ตัดจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

Happy Coding Smile

 

บทความนี้สาธิตการพัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชั่น Contoso University ซึ่งผมได้ศึกษาจากเว็บไซท์ http://asp.net/

หากต้องการอ่านบทความต้นฉบับจะอยู่ที่

http://www.asp.net/entity-framework/tutorials/the-entity-framework-and-aspnet-–-getting-started-part-1

ผมได้ศึกษา และทดลองทำตามแล้วนำมาเล่าให้ท่านอ่านกันอีกครั้ง อรรถรสอาจมาก น้อยไปกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

สำหรับตอนแรกนี้ เป็นการกล่าวเรื่องทั่วไปของระบบที่เราจะได้ทดลองทำกัน

 

จุดประสงค์

พัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชั่น เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย Contoso

ผู้ใช้ระบบสามารถจัดการกับข้อมูลนักเรียน วิชา ผู้สอน ได้

แสดงภาพตัวอย่างดังนี้ครับ

 

image

 

สิ่งที่ต้องเตรียม

 

1. image
Microsoft Visual Studio Express 2010 หรือเป็นรุ่นที่สูงกว่านี้ ต้องการคลิกที่นี่

 

2. image
ระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2008  Express หรือรุ่นที่สูงกว่า

 

3. ให้ดาวโหลดตัวอย่างระบบฐานข้อมูลจากที่นี่ ส่วนวิธีการติดตั้งขอให้อ่านจากเว็บที่ให้ดาวน์โหลดเอาเอง

 

4. บทความนี้ใช้ภาษา C# และ LINQ ในการพัฒนา

 

วัตถุุประสงค์

เราจะสร้าง Webapp และสร้าง Emtity DataModel จากฐานข้อมูลที่มี

 

ดำเนินการ

1.เมื่อได้สร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้ว ให้สร้าง Web App ขึ้นมา ตั้งชื่อว่า ContosoUniversity

image

 

2.ที่ Solution Explorer ทางขวาให้เปิด Site.Master ขึ้นมาแก้ไขชื่อเว็บ

image

 

เปิด Site.Master ที่ไฮไลท์ไว้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แล้วเปลี่ยนข้อความที่ด้านบนจาก

image ให้เป็น

 

image

 

3. แก้ไขแท้ก <asp:Menu.. ด้วยการก้อบโค้ดนี้ลงไปแทนที่เดิม

image

 

4. แก้ไข default.aspx ด้วยการเพิ่มข้อความ Welcome to Contoso… ดังนี้

image

 

5. กำหนดค่าการติดต่อกับฐานข้อมูล โดยการเปิด Server Explorer คลิกที่ไอคอน image แล้วติดต่อกับฐานข้อมูลที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว เมื่อการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเสร็จแล้วจะได้ผลดังนี้

image

 

6. จากนั้นเราจะสร้าง Entity Data Model ด้วยการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาตั้งชื่อว่า DAL แล้วคลิกขวาเลือก Add //New Item

image

ตั้งชื่อโมเดลว่า SchoolModel แล้วคลิกปุ่ม Add

image

 

หากปรากฏหน้าต่างนี้ให้เลือก No

image

 

ให้คลิก Generate from database แล้วคลิก Next

image

 

หน้าการเชื่อมต่อข้อมูลให้เลือก School ตัวเลือกด้านล่างให้เลือกตามนี้ และคลิก Next

image

 

ที่หน้า database object ให้เลือกตารางทุกอันยกเว้น sysdiagram และตัวเลือกอื่นๆตามนี้ แล้วคลิก Finish

image

 

เมื่อการสร้าง Data model เสร็จแล้วจะปรากฏดังนี้

image

 

7.อธิบาย Data Model

จากเอกสารต้นฉบับ มีการอธิบายองค์ประกอบของความสัมพันธ์ของ EDM เอาไว้โดยสรุปดังนี้

อธิบาย คสพ แบบ 1 ต่อ 0 หรือ 1

image

 

 

Entity person จะมี คสพ กับ Entity OfficeAssignment กันแบบ 1 : 0..1

 

หมายถึงบุคคลใดๆ ในระบบอาจจะไม่มี หรือมีอย่างมากเพียง 1 ชุดข้อมูลทีเกี่ยวข้องกับห้องทำงาน

สำหรับระบบนี้ออกแบบให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละคนหรือบางคนมีห้องทำงานเป็นของตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อธิบาย คสพ แบบ 1 ต่อ หลากหลาย

 

 

imageEntity StudentGrade จะมี คสพ กับ Person แบบ 1 ต่อ *

หมายถึงบุคคลในระบบสามารถมีเกรดหรือผลการศึกษา ได้หลายตัว เพราะเรียนหลายวิชา  ซึ่งในระบบนี้ออกแบบให้นักเรียนเท่านั้นที่มีผลการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อธิบาย คสพ แบบ หลาก ต่อ หลากหลาย

 

image

 

สำหรับ คสพ แบบนี้ อาจดูสับสนสักหน่อย พูดให้ง่ายขึ้นคือ ผู้สอนสอนได้หลายวิชา และแต่ละวิชาก็สามารถสอนได้โดยผู้สอนหลายๆคน สำหรับระบบนี้ได้ระบุว่าเฉพาะผู้สอนเท่านั้นที่มี คสพ กับรายวิชา

 

อธิบาย Navigation Properties

ที่แต่ละ Entities จะมี Navigation เพื่อชี้ไปยัง Entity อื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับ Entity นั้นๆ

 

image

 

ดังภาพนี้ เห็นได้ว่า Entity Person มีการเชื่อมโยงไปหา CourseGrade, OfficeAssignment, Course.. เป็นต้น

 

นอกจากนี้ คสพ แบบหลากหลาย ต่อ หลากหลาย จะไม่มีการสร้าง Entity ขึ้นแบบใช้ Key ร่วมกันแบบในฐานข้อมูล แต่ใช้ Navigation Properties ระบุ คสพ ลงไป

 

8.อธิบายการแก้ไขชื่อใน Entity

 

เราสามารถแก้ไข Field ใน Entity ได้ ในตย นี้จะเปลี่ยนชื่อ Person.FirstName ให้เป็น FirstMidName ด้วยการคลิกขวาที่ FirstName แล้วเลือก Rename

image

 

แล้วป้อน FirstMidName ลงไป จะได้ผลดังนี้

 

image

 

 

9.อธิบายการใช้ Model Browser

Model Browser เป็นเครื่องมือที่ใช้เข้าถึงโครงสร้างข้อมูล

หากแถบเครื่องมือของเราไม่มี Model Browser ปรากฏขึ้นมา ให้คลิกขวาภายใน EDM แล้วเลือก Model Browser

image

 

ที่แถบเครื่องมือทางขวา จะปรากฏ Model Browser ขึ้นมา

ภายใน จะมี

image

  • School Model ซึ่งใช้แสดงโครงสร้างของDataModel
  • SchoolModel.Store ใช้แสดงโครงสร้างของฐานข้อมูล

 

ลองคลิกที่ SchoolModel เลือก Entity Type เลือก person แล้วคลิกขวาที่ FirstMidName เลือก Table Mapping

image

 

จะเห็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง Entity Data Model กับ Database ถึงแม้ชื่อฟิลด์ใน EDM จะเปลี่ยนเป็น FirstMidName แล้ว แต่ใน Database ก็ยังคงเป็น FirstName เช่นเดิม

 

image

 

ส่วนรายละเอียดภายใน EDM ที่จริงเป็น XML ทั้งหมดเราสามารถแกะดูได้ โดยคลิกขวาที่ SchoolModel.edmx แล้วเลือก XML Text Editor จะได้ผลแบบนี้

image

 

สำหรับบทที่ 1 ขอจบเพียงเท่านี้ครับ

การนำข้อมูลมาแสดงผลแบบลำดับชั้นหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Hierarchy โดยข้อมูลที่มีในฐานนั้น อาจดูยุ่งยากวุ่นวาย แต่ไม่ยากจนเกินไปนักเมื่อทีมพัฒนา ASP.Net ได้ออกคอนโทรล TreeView เพื่อช่วยนำเสนอการแสดงผลดังกล่าว

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. เครื่องมือพัฒนา MS Visual Studio 2010 สำหรับตัวอย่างนี้ผมใช้รุ่น Express

2.ระบบฐานข้อมูล MS SQLServer 2008 Express

3.ฐานข้อมูล Northwind หากไม่มีให้โหลดจาก www.codeplex.com

จุดประสงค์

เราจะแสดงผลข้อมูลของลูกจ้างในบริษัท โดยที่แสดงชื่อของพนักงานที่เป็นหัวหน้างาน และสามารถแสดลงรายชื่อของลูกน้องที่ดูแล โดยใช้ Control TreeView

image

ดำเนินการ

1.สร้าง WebSite ขึ้นใหม่ คลิกเลือกที่ Visual C# เลือก ASP.Net Web Site และตั้งชื่อว่า TreeView_CS แล้วคลิก OK

image

 

2.จากนั้นเชื่อมต่อไปยัง Database Northwind ด้วยการคลิกที่ Database Explorer

image

 

3. คลิกที่ปุ่ม Connect to database

image

 

4.ระบุชื่อเครื่อง db server ในบทความนี้ผมใช้เครื่องเดียวกันนี้เป็น db server และใส่เพียง . เท่านั้น ส่วน database เลือก Northwind แล้วคลิก OK

image

 

5.เมื่อการเชื่อมต่อเสร็จสิ้น จะปรากฏตารางและวิวดังนี้

image

 

6.สร้าง Entity Data Model โดยการคลิกที่เมนู Website แล้วเลือก Addn new item

image

 

7.

image

เลือก ADO.NET Entity Data Model

 

image

ตั้งชื่อ DataModel ดังนี้

แล้วคลิก Add

 

 

8. เมื่อคลิก Add แล้ว จะปรากฏกล่องข้อความดังนี้

image 

นั่นคือ EDM ที่ได้สร้างขึ้นจะถูกนำไปเก็บที่ Folder App_Code ให้ตอบ Yes

 

9.image

จากนั้นเราจะสร้าง DataModel กัน เมื่อปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นให้เลือก Generate From Database แล้วคลิก Next

 

 

 

 

 

 

10. image

หน้าต่างการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ให้เลือกการเชื่อมต่อกับ Northwind ตามที่ได้สร้างไว้แล้ว

 

และคลิกเลือกที่ Save Entity connection ลงใน Web.config

แล้วคลิก Next

 

 

11.

image

สำหรับบทความนี้ต้องการเพียงตาราง Employees เท่านั้น

และให้คลิกเลือก Pluralize …

แล้วคลิก Finish

 

 

 

 

12. รอสักครู่การสร้าง EDM จะเสร็จสิ้นและได้ผลดังนี้

image

 

เสร็จสิ้นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการพัฒนาแล้วครับ ต่อไปเราจะเริ่มลงมือพัฒนากันจริงๆ ซะที ทั้งนี้ผมขอเอาไว้บทความถัดไปดีกว่า เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน และจะขอบคุณมากหากบอกเล่าให้ผมรู้บ้างว่าสิ่งที่ผมทำไปนี้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากเพียงใด

 

เจอกันใหม่บทความหน้าครับ

 

บทความนี้ผมได้ศึกษา สรุป และแปลจาก ASP.NET Tailspin Spyworks Tutorial Version 0.8 ต้นฉบับเขียนโดย Joe Stagner – Microsoft 4/28/2010

ทั้งนี้ก็ขอขอบคุณ คุณ Joe Stagner ด้วยครับ
ผมจึงขอนำมาสรุปเป็นโน้ตย่อ (หรือโน้ตยาวก็ไม่รู้) ให้กับตัวเองและทุกท่านที่สนใจอ่านครับ

หากท่านสนใจอ่านเอกสารต้นฉบับสามารถหาได้จากจากเว็บไซต์ asp.net

image

เนื้อหาที่นำมาเสนอนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเว็บข้างต้นอยู่ในหัวข้อ ASP.NET Web Form Sample Application ::  Tailspin Spyworks
เท่าที่ได้ศึกษา(อย่างคร่าวๆ 1 คืน) เนื้อหาไม่ยาก อธิบายง่ายๆชัดเจนดี ความยาว 84 หน้า

ก่อนลงมือคุณต้องมี….

  1. มีโปรแกรม Visual Studio 2010 สามารถดาวน์โหลดฟรีได้จาก http://www.asp.net/downloads เป็นรุ่น Express เมื่อโหลดเสร็จ ก็ติดตั้งลงในเครื่องของท่านเพื่อใช้ในหัวข้อต่อๆไป
  2. มีความรู้เกี่ยวกับ LINQ
  3. รู้จัก Master Page
  4. รู้จัก CSS 
  5. รู้จัก AJAX

เนื้อหาภายในเล่ม

 

*การจัดเรียงเนื้อหาผมจัดตามต้นฉบับเดิมของคุณ Joe เพื่อความสะดวกในการเทียบเคียง

  1. Building Tailspin Spyworks – an ASP.NET WebForms Sample
  2. Overview
  3. File / New Project
  4. Adding the Data Access Layer
  5. Adding Some Layout and a Category Menu
  6. Listing Products with the GridView Control
  7. Adding Some Business Logic
  8. Working with ASP.NET Membership
  9. Adding Features
  10. Account Review
  11. OrderDetsails.aspx
  12. The Home Page
  13. Product Reviews
  14. Popular Items Control (Creating User Controls)
  15. “Also Purchased” Control (User Controls with Parameters)
  16. Contact Page (Sending email from ASP.NET)
  17. About Page
  18. Global Exception Handler
  19. Conclusion